เมื่อผู้ปกครองไม่รู้ว่า ส้มราคากิโลละเท่าไหร่(ตอน1)

ซอกซอนตะลอนไป                           (9 กรกฎาคม 2566)

เมื่อผู้ปกครองไม่รู้ว่า ส้มราคากิโลละเท่าไหร่(ตอน1)

โดย   เสรษฐวิทย์  ชีรวินิจ

               การที่ผู้นำของรัฐฯอยู่ในอำนาจนานๆ  มักจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

               ก่อนที่ฤดูกาลท่องเที่ยวอียิปต์จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมนี้  และไวท์ เอเลแฟนท์ ฯ มีทัวร์คุณภาพเจาะลึกแบบรับประกันความพอใจ 10 วัน 7 คืนอีกเช่นทุกปี   ผมจึงขอเริ่มอุ่นเครื่องด้วยเรื่องสนุกๆของอียิปต์สักเล็กน้อย

               อียิปต์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกอังกฤษยึดครองมายาวนาน และเพิ่งจะได้รับอิสรภาพในปีค.ศ. 1952  หลังจากนั้น  อียิปต์ก็ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐเรื่อยมา   โดยมีประมุขเป็นตำแหน่งประธานาธิบดี

               แรกทีเดียว  ประธานาธิบดีจะมีวาระในตำแหน่ง 4 ปี   แต่ในปีค.ศ. 2019   รัฐสภาอียิปต์ได้ลงมติให้ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งออกไปอีก 2 ปีเป็น 6 ปี


(ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอียิปต์ อับเดล ปาตตาห์ เอล ซีซี – ภาพจากวิกิพีเดีย)

               ในอดีต  กฎหมายกำหนดให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระ  ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม  แต่ก็ได้รับการแก้ไขในปี 2019 ให้ประธานาธิบดี อับเดล ฟาตตาห์ เอล ซีซี (ABDEL FATTAH EL-SISI) สามารถดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เป็นพิเศษเพียงคนเดียว

               เท่ากับว่า   ซีซี ซึ่งดำรงตำแหน่งมาแล้ว 8 ปี   ยังสามารถสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อีกครั้งในปี 2024  หากเขาชนะการเลือกตั้ง   เขาก็จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนาน 13 ปี 

               กระนั้นก็ตาม  เขาก็ยังไม่ใช่ประธานาธิบดีอียิปต์ที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานที่สุด


(ประธานาธิบดี ฮอร์สนี มูบารัค- ภาพจากวิกิพีเดีย)

               เพราะประธานาธิบดีที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ก็คือ  ฮอร์สนี่ย์ มูบารัค (HOSNI MUBARAK) ซึ่งดำรงตำแหน่งเกือบ 30 ปี  เขาถูกโค่นจากอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011

               ฮอร์สนี่ มูบารัค ขึ้นสู่ตำแหน่งหลังจากประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดัต (ANWAR SADAT)  ถูกสังหารโหดโดยทหารองครักษ์บุกเข้าไปยิงแบบจ่อๆขณะที่ซาดัต กำลังนั่งเป็นประธานตรวจพลสวนสนามประจำปี 1981  

จากนั้น  มูบารัค ก็เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์ตั้งแต่นั้นเรื่อยมาจนถึงปีค.ศ. 2011


(ประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดัต ขณะจับมือกับ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1979 – ภาพจากวิกิพีเดีย)

               หลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดี อันวาร์ ซาดัดในครั้งนี้แล้ว   การตรวจพลสวนสนามของทหารก็ถูกย้ายจากริมถนนตรงข้ามกับสุสานทหารนิรนามเข้าไปอยู่ในค่ายทหาร  ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยนับแต่นั้นมา


(ปะรัมพิธีตรวจพลสวนสนามที่ประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต ถูกจ่อยิงจนเสียชีวิต)

               สำหรับท่านที่ร่วมเดินทางไปอียิปต์กับผม  ท่านจะได้ชมสถานที่จริงของการลอบสังหารครั้งนี้   และรับฟังเรื่องราวที่น่าระทึกใจ  เป็นประวัติศาสตร์ที่สะเทือนขวัญไปทั่วโลกนี้ด้วย   และ ความเป็นมาว่าทำไมจะต้องมีการตรวจพลสวนสนามที่จุดนี้ด้วย


(ภาพหน้าหนังสือพิมพ์ที่ตีข่าวการลอบสังหารอันวาร์ ซาดัต)

               ประธานาธิบดี มูบารัค ถูกโค่นลงจากอำนาจในช่วงของเหตุการณ์ อาหรับ สปริง เมื่อประชาชนออกมาเดินขบวนขับไล่เขาทั้งประเทศ  จนกองทัพในนามของ SUPREME COUNCIL OF THE ARMED FORCES  ต้องออกมาทำหน้าที่รักษาความสงบแล้วมูบารัคก็ออกจากตำแหน่งไป 


(ฝูงชนที่ออกมาเดินขบวนประท้วงประธานาธิบดี มูบารัค ที่จตุรัส ทาฮีร์ ในกรุงไคโร จนนำไปสู่การลาออกของมูบารัค ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 – ภาพจากวิกิพีเดีย)

จากนั้น  คณะทหารชุดดังกล่าวก็จัดการให้มีการเลือกตั้งต่อไป

ด้วยบุคลิคภาพของ ฮอร์สนี่ มูบารัค   แม้ว่าเขาจะถูกโค่นออกไปจากอำนาจ  แต่ดูเหมือนว่า  เขาก็ยังเป็นที่กล่าวถึง  และเป็นที่รักของประชาชนบางส่วน  และที่สำคัญก็คือ  กับทหารในกองทัพ

แต่เรื่องที่ผมจะเล่าให้ฟัง  เป็นเรื่องที่เป็นสัจธรรมของผู้ปกครองทั่วโลกที่ยิ่งอยู่ในอำนาจนานเท่าไหร่  เขาก็จะยิ่งห่างไกลจากประชาชนมากขึ้นเท่านั้น

ท่านที่สนใจจะร่วมเดินทางเจาะลึกอียิปต์ทริปแรกของซีซั่นนี้กับผม  ระหว่างวันที่ 19-28 ตุลาคม  ติดต่อได้ที่ โทร 088 5786666 หรือ ID LINE – 14092498  

โปรแกรมนี้  เน้นการบรรยายชมอย่างจุใจ  ไม่ใช่แค่ปล่อยให้ลงไปถ่ายรูปแล้วเดินทางต่อ

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

Posted in ซอกซอนตะลอนไป โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ and tagged , , , .