ซอกซอนตะลอนไป (15 สิงหาคม 2564)
อินเดียใช้ IVERMECTIN ปราบโควิด 19
โดยเสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
ผมขอขัดจังหวะเรื่อง ระบบประชาธิปไตยของอินเดียไว้ก่อน เพราะเห็นว่า เรื่องโควิด 19 ที่อินเดียสามารถรบชนะนั้น น่าสนใจมาเป็นพิเศษ จึงขอนำประสบการณ์ของเพื่อนผมผู้ผ่านการติดโควิดมาได้ มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ไวรัสโควิด 19 ระบาดระลอก 2 ในอินเดีย เป็นการระบาดครั้งร้ายแรง จำนวนผู้ติดเชื้อจากเดิมที่มีแค่หมื่นคนเศษต่อวันพุ่งขึ้นไปที่ 4 แสนคนต่อวัน เป็นผลจากฉลองเทศกาลใหญ่ 2 เทศกาลติดต่อกัน มิพักต้องพูดถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ที่เพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งสถานที่เผาศพไม่เพียงพอ
แต่โดยพลัน เพียงแค่ไม่ถึง 2 เดือน ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างน่าอัศจรรย์ จนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ผู้ติดเชื้อน้อยว่า 4 หมื่นคนต่อวัน และผู้เสียชีวิตลดเหลือประมาณ 4 ร้อยคนเศษต่อวันเท่านั้น
ผมบังเอิญมีประสบการณ์ร่วมกับเพื่อนชาวอินเดีย ที่อาศัยอยู่ในเมืองกอลกัตตา ผู้โชคร้ายติดโควิค19 ทั้งครอบครัว พ่อแม่ลูก 3 คน ทั้งๆที่ตัวเขาเองเพิ่งจะได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 มาครบ 14 วันแล้ว
เป็นสถานการณ์ที่แสนบีบคั้น และ หดหู่มาก ทุกคนจะต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพราะโรงพยาบาลไม่มีเตียงว่าง
ผมได้รับทราบความเป็นไปตั้งแต่เริ่มติดโควิดจนกระทั่งรักษาหาย จึงขออนุญาตเขา เพื่อเอาเรื่องราวมาเล่าต่อ เผื่อจะเป็นแนวทางในการรักษา
เพื่อนผมอาศัยอยู่นอกเมือง กอลกัตตา อากาศค่อนข้างโปร่ง แต่วันหนึ่ง เพื่อนบ้านสูงอายุก็ติดโควิด 19 จากลูกชายที่ทำงานต่างจังหวัด หลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาก็เสียชีวิต
ถัดมา เขาก็มีอาการปวดตามข้อต่อต่างๆ ไข้ขึ้นสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เขาจึงทานยาพาราเซตตามอล (PARACETAMAL) ขนาด 650 มิลลิกรัมทุกๆ 7 ชม อาการไข้ลดลงชั่วคราว แล้วก็กลับขึ้นมาใหม่ เขาจึงเพิ่มยาเป็น 1000 มิลลิกรัม เพื่อคุมไข้ไม่ให้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
จากนั้น การรับรู้ทางจมูก และ ลิ้นเริ่มเสียไป
เขาจึงโทรหาห้องแล็บตรวจโรคเพื่อให้มาตรวจหาโควิดที่บ้าน 2 วันต่อมา กระทรวงสาธารณสุขของรัฐฯ ก็แจ้งว่า เขาติดโควิด 19 และขอให้กักตัวอยู่แต่ในบ้าน ให้ทานยาที่หมอจะสั่งให้ และยังบอกด้วยความมั่นใจว่า เขาจะหายเป็นปกติภายใน 7 วัน
เมื่อเขาถูกระบุว่าติดโควิด ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของเขา ก็เข้าไปอยู่ในระบบสาธารณสุขของรัฐฯทันที หมอสามารถติดต่อ ตรวจสอบ และ บันทึก คำแนะนำแก่เขาได้ทุกเมื่อ
การควบคุมโควิด 19 ของสาธารณสุขอินเดียถือว่ามีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือ หมอจากกระทรวงฯ จะโทรศัพท์ติดต่อกับผู้ป่วยวันละ 2 ครั้ง เพื่อสอบถามอาการ
เพื่อความมั่นใจ เขาเลือกไปตรวจซ้ำกับหมอที่คลินิคอีกครั้ง ผลที่ได้ก็เช่นเดียวกัน หมอคลินิคได้ออกใบสั่งยาให้เขาไปซื้อ และแนะนำวิธีปฎิบัติตัว
ก่อนจะพูดถึงรายละเอียดของการรักษาโควิด ผมขอพูดถึงไวรัส โควิด 19 เสียก่อน
มนุษย์มีศัตรูที่เราไม่เห็นตัวคอยทำร้ายประมาณ 4 แบบด้วยกัน เรียกว่า MICROBES หรือ MICRORGANISM ประกอบด้วย ไวรัส , แบคทีเรีย , ฟังกัส ประเภทเชื้อราต่างๆ และ พาราไซต์ เช่น พยาธิ
โควิด 19 เป็นไวรัสที่มุ่งทำร้ายระบบทางเดินหายใจ มันก็จะตรงไปที่ปอด หัวใจ และ ลงไปที่กระเพาะอาหาร และ ไต ในที่สุด
คนที่เสี่ยงต่อโควิดที่สุดก็คือ คนที่เป็นโรควินิจฉัยร่วม หรือ โรคเรื้อรัง (COMORBIDITY) คือคนที่มีโรคคุกคามในตัวอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย และ โรคปอดเรื้อรัง (CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE หรือ COPD)
ไวรัสโควิดจะเริ่มทำร้ายปอดก่อน ปอดจะทำงานไม่ได้จนหยุดทำงาน หายใจไม่ได้เอง ยังผลให้ระดับอ๊อกซิเจนในเลือดต่ำ ทำให้เกิดโรคอื่นแทรกซ้อนตามมาอีกมากมาย และเสียชีวิตในที่สุด
ยาที่หมอสั่งให้คือ ด๊อกซี่ไซคลีน (DOXYCYCLINE) เป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ แต่หมอได้เพิ่มตัวยาพิเศษคือ LB เข้าไป โดยให้ทาน 2 เม็ดต่อวัน
LB ก็คือ แบคโตบาซิลัส (LACTOBACILLUS) เป็นแบคทีเรีย ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หมออินเดียได้ลงความเห็นว่า การให้ LB คู่กับ ด๊อกซี่ไซคลีน จะให้ผลในการรักษาที่ดีกว่า
ยาตัวที่สองที่หมอสั่งก็คือ MONTELUKAST และ/หรือ LEVOCETIRIZINE เป็นยารักษาโรคเยื่อจมูก และ เยื่อตาอักเสบจากอาการภูมิแพ้ อาการคัน หรือ อาการลมพิษ ให้ทาน 1 ครั้งหลังอาหารค่ำ
ยาตัวที่สาม ซึ่งเป็นยาที่สำคัญ คือ IVERMECTIN เป็นยาฆ่า MICROBES ซึ่งก็คือ พยาธิ หรือ ปรสิต หรือ สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆในร่างกายโดยเฉพาะ หมอให้ทาน ครั้งละ 1 เม็ด ขนาด 12 MG เพียง 4 วันแล้วหยุด
บทความในประเทศไทยระบุว่า ยาตัวนี้แพทย์ใช้กับสุนัข หรือ สัตว์เลี้ยงในการถ่ายพยาธุ หมอไทย จึงไม่ใช้ยาตัวนี้กับคน เหตุผลว่า ยังไม่มีผลงานวิจัยเรื่องการใช้กับคนที่ชัดเจน
แต่ทำไม หมออินเดียจึงใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยโควิดอย่างกว้างขวาง และ ได้ผลดีอย่างมีนัยยะสำคัญ หมออินเดียเชื่อว่า ยาตัวใดก็ตามที่ใช้กับสัตว์ได้ ย่อมใช่กับคนได้เหมือนกัน ต่างกันที่ขนาดเท่านั้น
จากข้อมูลการแพทย์ของอินเดียระบุว่า หากร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนไม่เพียงพอ เซลล์ในร่างกายจะอ่อนแอลง ยังผลให้ พยาธิ หรือ ปรสิต แข็งแรงขึ้น และ ออกมาอาละวาดทำร้ายอวัยวะภายในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบประสาทตรงบริเวณหน้าผาก และ ดวงตา ยังผลทำให้ประสาทการทรงตัวเสียหาย หรือ สูญเสียการมองเห็น
ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อินเดียระบุว่า PAROMA BANERGI นักร้องดังโชคร้ายติดโควิดเมื่อไม่กี่วันก่อน ทำให้เธอสูญเสียการมองเห็น เมื่อหมอตรวจดูก็พบว่า มีปรสิตไปทำร้ายดวงตาของเธอ
อันเป็นผลจากไวรัสโควิด19
หมอบอกว่า หากโชคดี เธออาจสูญเสียการมองเห็นไปสัก 3 เดือน แต่หากโชคร้าย ตาของเธออาจจะบอดไปตลอดชีวิต
หมอให้ยา IVERMECTIN แก่เพื่อนผมวันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 4 วันเท่านั้น ห้ามทานนานกว่านี้ ยาตัวนี้จะช่วยฆ่า โปรโตซัว (PROTOZOA) เช่น พยาธิตัวเล็กๆ ได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
หมอยังให้ทานวิตามิน ซี และ สังกะสี (ZINC) เพื่อช่วยฟื้นฟูการรับรู้กลิ่น และ รสชาติที่ถูกทำลายไป , ช่วยแก้ปัญหาภูมิคุ้มกันที่ลดลง และ ยังช่วยให้การทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายกว่า 200 ชนิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
ยาอีกชนิดหนึ่งที่หมอได้สั่งไว้ก็คือ DOMPERIDONE ซึ่งเป็นยาแก้การอาเจียร หรือ คลื่นไส้ ให้ทานเมื่อมีอาการ
ค่ายาทั้งหมดนี้ ราคาเพียง 900 รูปี หรือ ประมาณ 400-450 บาท
หมอกำชับให้ดื่มน้ำวันละ 4 ลิตร เน้นเป็นน้ำอุ่น ซึ่งอาจจะใส่ขิงและมะนาวลงไปด้วยก็ได้ ทานไข่วันละ 2 ฟอง ทานซุปไก่ร้อนๆ ทานผลไม้สด ฟังดนตรีเบาๆที่ช่วยคลายเครียด
และยังให้อบไอน้ำที่ใบหน้าด้วยมินต์ หรือ การะบูน เพื่อช่วยให้การหายใจดีขึ้น
ตลอดเวลาที่อยู่ที่บ้าน หากเขาต้องการยาเพิ่ม หรือ ต้องการจะจ่ายตลาดหาซื้อของกินของใช้ ก็จะมีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เช่นพวกมอเตอร์ไซด์ ที่เป็นอาสาสมัคร คอยออกไปซื้อให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วยทำให้การกักตัวที่บ้านของอินเดียได้ผลดี
หากคนไข้เกิดอาการระดับอ๊อกซิเจนในเลือดลดต่ำมาก หมอแนะนำการเพิ่มอ๊อกซิเจน ด้วยวิธีโยคะ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่วิธีที่หมอแนะนำก็คือ
ให้นอนคว่ำหน้าบนเตียง เอียงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เอาหมอนอันหนึ่งสอดไว้ที่บริเวณหน้าท้อง อีกอันหนึ่งวางไว้ที่ใต้หัวเข่า แค่นี้ก็จะช่วยทำให้เพิ่มระดับอ๊อกซิเจนในเลือดได้แล้ว
เพียง 7 วัน อาการป่วยของเพื่อนผม ภรรยา และลูก ของเขาก็หายเป็นปกติ
ด้วยวิธีนี้ ผู้ติดเชื้อรายวันของอินเดีย จาก 401,993 คนในวันที่ 1 พฤษภาคม ลดลงมาเหลือ 127,510 คน ในวันที่ 1 มิถุนายน และอัตราผู้รักษาหายสูงถึง 97 เปอร์เซนต์ ซึ่งครอบครัวของเพื่อนผมก็เป็นหนึ่งในนั้น
และยังผลให้เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ (HERD IMMUNITY) ขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 67 เปอร์เซนต์ ทั้งๆที่ อินเดียเพิ่งจะฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนของตัวเองได้ไม่ถึง 30 เปอร์เซนต์ เพราะการติดโควิด 19 แต่รักษาหาย มีค่าเท่ากับการฉีดวัคซีนเข้าไปในตัว
สาธารณสุขไทย ควรจะลองพิจารณาการใช้ IVERMECTIN ในการรักษาโควิด 19 เสริมกับการฉีดวัคซีน เพราะ IVERMECTIN มีราคาถูกกว่าวัคซีน หลายเท่านัก
คำถามก็คือ หากระบบสาธารณสุขของอินเดียไร้ประสิทธิภาพ และยา IVERMECTIN ไม่สามารถรักษาได้ ทำไม อินเดียจึงไม่ล่มสลายทางด้านสาธารณสุขเช่นเดียวกับหลายประเทศในอัฟริกา
ผมหวังว่า การถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่สามารถพิชิตโควิด 19 แม้จะไม่ได้รักษาในโรงพยาบาล จะเป็นประโยชน์ต่อการเอาตัวรอด ในช่วงวิกฤติที่ห้องในโรงพยาบาลอาจจะไม่พอ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ