ชีวิตเป็นของมีค่า
ทำไม ไวรัสเดลต้า หยุดระบาดที่อินเดีย
โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
เมื่อ 2-3 เดือนก่อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายนเป็นต้นมา ไวรัสโควิด 19 ระบาดอย่างหนักในประเทศอินเดีย จนทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งขึ้นไปกว่า 4 แสนคนต่อวัน และจำนวนผู้เสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเผาศพไม่ทัน
แต่ในวันนี้ (2 สิงหาคม 2564) จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเหลือ 30,029 คนเท่านั้น ซึ่งยืนพื้นมานานเป็นสัปดาห์แล้ว และจำนวนผู้เสียชีวิตก็ลดลงเหลือ 420 คน เท่านั้น
ต้องไม่ลืมว่า ประเทศอินเดียมีพื้นที่กว้างกว่าประเทศไทย 6 เท่าเศษ และ มีประชากรมากกว่าไทย 20 เท่า ต้องถือว่า การระบาดของไทยหนักหนาสาหัสมาก เพราะวันนี้ มีผู้ติดเชื้อ 18,901 คน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อของอินเดีย และมีผู้เสียชีวิต 147 คน
หากเราตั้งสมมติฐานว่า ประชากรไทยมีจำนวนเท่ากับประชากรอินเดีย เราจะมีผู้ติดเชื้อในวันนี้เท่ากับ 378,020 คน และเสียชีวิต 2, 940 คน
คำถามก็คือ ทำไม อินเดีย ซึ่งมีไวรัส สายพันธุ์เดลต้า ระบาดมาก่อน จึงลดความรุนแรงลง ในขณะที่ ในประเทศไทยกลับมีความรุนแรงของสายพันธุ์เดลต้ามากขึ้น และ ทำท่าว่าจะมีอัตราที่แซงหน้าอินเดียไม่ว่าจะคำนวนด้วยวิธีคิดจากฐาน 1 ล้านคน หรือ ด้วยวิธีเทียบจากฐานประชากรที่เท่ากัน
ผมได้ทราบข้อมูลจากเพื่อนในอินเดียว่า ความดีความชอบส่วนหนึ่งต้องยกให้แก่ QUACK DOCTORS ที่กระจายตัวไปทั่วประเทศอินเดีย
QUACK DOCTORS ก็คือ บุคคลที่ดำเนินชีวิตแบบหมอ แต่ไม่มีใบปริญญาของหมอ ในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลออกไปมากๆ หมอ เหล่านี้ ซึ่งหากจะเรียกว่า หมอเถื่อนก็ไม่ผิดนัก อยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้านมาเป็นเวลาช้านาน และได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านให้ช่วยดูแล ปรึกษา และ รักษาสุขภาพของพวกเขามาช้านาน
ประชากรอินเดียที่บันทึกวันที่ 1 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ 1,366 ล้านคน และมีหมอ 1,255,790 คนหรืออัตราส่วนประมาณหมอ 1 คนต่อประชากร 1,087 คน แต่หมอส่วนใหญ่มากมักจะอาศัยอยู่ในเมือง ในหมู่บ้านที่ไกลปืนเที่ยงจึงแทบจะไม่มีหมอเลย
รัฐบาลอินเดียได้ใช้ หมอเถื่อนเหล่านี้ให้ช่วยในการรับมือโควิด ได้อย่างได้ผลยิ่ง ด้วยการให้บริษัทผลิตยาจากต่างประเทศ เช่น GLAXO และ ABBOT รวมทั้งบริษัทผลิตยาในประเทศมาให้การอบรม แนะนำในการดูแลผู้ป่วย และ วิธีการใช้ยา โดยมีหมอ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดูแลควบคุม
หากเจอกรณีที่ซับซ้อน หรือ ยากลำบาก ก็สามารถติดต่อกับหมอผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง ผ่านทางโทรศัพท์วิดีโอ หรือ โทรศัพท์ธรรมดา
ผมได้เขียนบทความที่เพื่อนชาวอินเดียของผม และ ครอบครัวติดโควิด แต่รักษาหายได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล เขาเล่ารายละเอียดในช่วงที่รักษาตัว โดยใช้ยา IVERMECTIN คู่กับยาอื่นๆตามคำสั่งของแพทย์ และ ปฎิบัติตนในบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการอบไอน้ำในตอนหายใจไม่ออก การใช้วิธีของโยคะในการช่วยเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในเลือด การดื่มน้ำร้อนใส่ขิงและมะนาวตลอดวัน เหล่านี้เป็นต้น
ตลอดเวลาของการรักษา หมอจะเป็นผู้โทรศัพท์เข้าไปหาคนไข้ วันละสองครั้งเพื่อสอบถามอาการ และ สั่งยาเพิ่มเติม
(หากสนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บ www.whiteelephanttravel.co.th แล้วไปที่ blog ชื่อ “ชีวิตเป็นของมีค่า” เรื่อง “ ชาวอินเดียรบชนะโควิด19อย่างไร” )
ถ้ามองกลับมาที่บ้านเรา เราอาจจะใช้ สมาชิกของ อสม. หรือ แพทย์แผนไทย มาร่วมทำงานเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ก่อนก็ได้ โดยที่ผู้ป่วยเหล่านั้นสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งของอินเดียก็คือ การระบาดของโควิดในคราวที่ผ่านมา ประกฎว่า คนป่วยอาการหนักจะอยู่ในเมืองใหญ่มากกว่าในชนบท แสดงว่า หมอเถื่อนมีบทบาทในการช่วยสะกัดได้มากทีเดียว
จากสองเดือนเศษที่แล้ว วันนี้ สถานการณ์ในอินเดียแทบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว ผลจากการระบาดใหญ่ที่ผ่านมาทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศที่สูงประมาณ 67 เปอร์เซนต์ ทั้งๆที่การเปอร์เซนต์การฉีดวัคซีนก็ไม่ได้มากขนาดนั้น
ในโรงพยาบาลของเมืองกอลกัตตา แทบจะไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดตกค้างอยู่เลย เพื่อนผมซึ่งมีญาติไปคลอดลูกในโรงพยาบาลของเมืองกอลกัตตาบอกว่า เหลือผู้ป่วยโควิดตกค้างในโรงพยาบาลเพียง 2 คนเท่านั้น
ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐในการเตรียมรับมือ เพราะมีการวิเคราะห์ในอินเดียว่า โควิดระลอกใหม่กำลังจะมา และครั้งนี้ น่าจะเป็นไวรัส ตัวร้ายที่อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 70 วันที่จะควบคุมให้อยู่ หลังจากนั้น จะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ
รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละเมืองจึงต้องพยายามเตรียมพื้นที่ของโรงพยาบาล และ อุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมรับมือ
ในขณะที่ วัคซีนก็ยังเดินหน้าฉีดต่อไป สำหรับจำนวนผู้ฉีดวัคซีนไปแล้ววันที่ 2 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ 478,544,114 คน
ดังนั้น เมื่อโควิด ระลอกต่อมาที่จะมาถึงอินเดีย อินเดียก็น่าจะรับมือได้โดยไม่ยาก
หวังว่า กระทรวงสาธารณสุขไทย จะตระหนักถึงความหนักหนาสาหัสของการระบาดในระลอกต่อไปด้วยนะครับ
(3 สิงหาคม 2564)