มหาตมะ คานธี กับ รางวัลโนเบลไพรซ์

ซอกซอนตะลอนไป                           (27 มกราคม 2561 )

มหาตมะ คานธี กับ รางวัลโนเบลไพรซ์

โดย   เสรษฐวิทย์  ชีรวินิจ

               สัปดาห์นี้  ผมขอขัดจังหวะเรื่องเล่าจากอียิปต์ “ก่อนจะมาเป็นดาราศาสตร์ และ โหราศาสตร์”  เอาไว้ก่อน  เพราะมีเรื่องที่น่าจะเขียนถึงเนื่องในวาระครบรอบวันถึงแก่อสัญกรรมของมหาบุรุษของโลกหนึ่งเดียว เมื่อวันที่ 30 มกราคม ปีพ.ศ. 2491   

               มหาตมะ คานธี 


(ท่านมหาตมะ คานธี)

               ซึ่งจะครบรอบ 70 ปีในอีกสองสามวันข้างหน้านี้ 

               วันนั้น  ตอนเย็น 17.17 น. ตามเวลาของกรุงเดลี ประเทศอินเดีย  ขณะที่ท่านมหาตมะ คานธี กำลังเดินออกจากห้องพักที่แสนจะเรียบง่าย และ สัมถะ ภายในบ้านของมหาเศรษฐีตระกูลเบอร์ลา(BIRLA) ซึ่งยกบ้านหลังนี้ให้แก่ท่านมหาตมะ คานธีได้พำนักอาศัยในช่วงที่ท่านเดินทางมาที่เดลี 

               เพราะท่านคานธี ไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเองแม้แต่ชิ้นเดียว  

               เหมือนเช่นทุกวัน  ท่านจะออกไปสวดมนต์ร่วมกับผู้คนจำนวนมาก  แต่ถูกลอบสังหารด้วยปืนบาเรตต้าจากฆาตรกรผู้มีความคิดหัวรุนแรงทางการเมือง   ท่านเสียชีวิตตรงนั้นเอง


(ภาพสุดท้ายของท่าน คานธี  – ไม่ทราบที่มา  แต่ก็ขอบคุณไว้ณ.ที่นี้ด้วย)

               การถึงแก่อสัญกรรมของท่านคานธีสั่นโลก สะเทือนแผ่นดิน ด้วยกรรมดีที่ท่านได้ทำไว้ยาวนานตลอดทั้งชีวิต  จนขนาดอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ถึงกับพูดว่า 

“ในอีกร้อยปีข้างหน้า  จะไม่มีใครเชื่อว่า  โลกเคยมีบุคคลเช่นนี้อยู่จริง”

               แต่เป็นเรื่องน่าอัปยศอดสูอย่างยิ่งที่  ท่านมหาตมะ คานธี ไม่ได้รับรางวัลโนเบลซึ่งเป็นรางวัลเพื่อสันติภาพ ที่นอร์เวย์ และ สวีเดน ร่วมกันจัดตั้งขึ้น   แม้ว่าท่านจะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลหลายครั้ง  แม้กระทั่งในปีที่ท่านถูกลอบสังหารก็ตาม  


(เหรียญรางวัลโนเบล)

               บทบาทที่โดดเด่นของท่านมหาตมะ คานธี ที่ใครๆในโลกนี้ก็ไม่อาจปฎิเสธได้ก็คือ  การเป็นผู้นำชาวอินเดียทั้งมวลให้ลุกขึ้นมาเรียกร้องอิสรภาพคืนจากอังกฤษ  จนกระทั่งอังกฤษต้องยอมถอนตัวออกไปจากอินเดียในที่สุดในปีค.ศ. 1947 

               ที่สำคัญที่สุดก็คือ  การเรียกร้องอิสรภาพของท่านคานธี  เป็นวิธีการเรียกร้องอย่างสันติอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง 

               คณะกรรมการโนเบล ได้เสนอชื่อของท่านคานธีให้เข้าชิงรางวัลดังกล่าวในช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึงปีค.ศ. 1939  แต่ท่านก็ไม่ได้รับรางวัลแม้แต่ครั้งเดียว    และครั้งสุดท้ายในปีค.ศ. 1947  ก่อนหน้าที่ท่านคานธีจะถูกลอบสังหารในเดือนมกราคมปีค.ศ. 1948 ไม่นานนัก 

               ถือเป็นการประกาศผลรางวัลที่มีลับลมคมในมาก   และเชื่อกันว่า  น่าจะเกิดจากการแทรกแซงของอังกฤษ  เพราะอังกฤษมีความโกรธแค้นที่ท่านคานธีขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย  ทำให้อังกฤษต้องคายเหยื่อก้อนโตให้หลุดออกจากปากตัวเอง  

               ในปีค.ศ. 1953  ทหารกลุ่มหนึ่งของอียิปต์ได้ก่อการรัฐประหาร เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาสิทธิราช  มาเป็นระบบสาธารณรัฐ  และ นำไปสู่การขับไล่อังกฤษออกจากอียิปต์ด้วย 

               หลังจากนั้นไม่กี่ปี  รัฐบาลอียิปต์วางแผนที่จะสร้างเขื่อนใหญ่ หรือ HIGH DAM และเสนอขอกู้เงินจากธนาคารโลก หรือ IMF ที่มีสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษเป็นหัวเรือใหญ่

               ด้วยอิทธิพลของอังกฤษที่สุมไฟแค้นมาเต็มหัวอก  ธนาคารโลกซึ่งเป็นกลไกของโลกทุนนิยมปฎิเสธที่จะให้อียิปต์กู้เงิน  จนทำให้รัฐบาลอียิปต์ต้องหันขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตฯ  ที่เป็นผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น  และเป็นช่วงเวลาของการต่อสู้ของทั้งสองค่ายอย่างเงียบๆที่เรียกว่า  สงครามเย็น   

สหภาพโซเวียตฯ ตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงิน และ เท็คโนโลยีแก่อียิปต์อย่างเต็มที่   จนกระทั่งได้เขื่อนที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 1971  ซึ่งเป็นปีที่เขื่อนสร้างเสร็จ 


(อนุสาวรีย์รูปดอกบัวบาน และ ฟันเฟือง ที่เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมกันระหว่างรัสเซีย กับ อียิปต์ ที่เขื่อนใหญ่ของเมืองอัสวาน)

               ความอื้อฉาวของการตัดสินรางวัลโนเบล ยังไม่จบแค่นั้น 

               ในปีค.ศ. 1965  ตัวแทนของรัฐบาลนอร์เวย์ประจำสหประชาชาติ ได้แจ้งแก่ อู ถั่น(U THANT) ชาวเมียนมา ที่ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ว่า   ท่านอู ถั่นจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล  ขอให้เขารับรางวัลดังกล่าว  ซึ่งอู ถั่น ก็ตกลงที่จะรับ 


(ท่านอู ถั่น – ภาพจากวิกิพีเดีย)

               ขณะเดียวกัน  กุนนาร์ จาห์น(GUNNAR JAHN) ประธานของคณะกรรมการโนเบล ก็พยายามล็อบบี้อย่างหนักที่จะไม่ให้รางวัลนี้ตกไปอยู่ในมือของ อู่ ถั่น  ซึ่งน่าจะมีเบื้องหลังที่คล้ายกันกับอินเดีย และ อียิปต์

เพราเมียนมา เพิ่งจะประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 มกราคมปีค.ศ. 1948 

นอกจากนี้  ยังมีเรื่องการมีลับลมคมในในการมอบรางวัลให้แก่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาอีก  ซึ่งก็น่าเชื่อว่า  น่าจะมีอิทธิพลทางการเมืองจากอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ผมจะไม่นำมาเล่าต่อ ณ.ที่นี้

แม้ว่าเกียรติคุณของท่านคานธี จะยิ่งใหญ่กว่าเกียรติคุณของรางวัลโนเบล อย่างเทียบกันไม่ได้   ซึ่งหากมีการมอบรางวัลโนเบลให้แก่ท่าน  และหากท่านยอมรับรางวัลดังกล่าว  ก็น่าจะเป็นการที่ท่านให้เกียรติแก่รางวัลโนเบลด้วยซ้ำ  

มิใช่รางวัลโนเลยให้เกียรติแก่ท่าน 

แต่รางวัลโนเบลก็ถูกชักนำด้วยอคติ  และ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองอย่างน่าอดสูที่สุด  จนประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้   

ขอรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน  และ ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของท่านมหาตมะ  คานธี  มหาบุรุษของโลกไว้ ณ.ที่นี้ด้วย

Posted in ซอกซอนตะลอนไป โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ and tagged , , , .

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *