เมื่อผู้ปกครองไม่รู้ว่า ส้มราคากิโลละเท่าไหร่(ตอน2-จบ)

ซอกซอนตะลอนไป                           (16 กรกฎาคม 2566)

เมื่อผู้ปกครองไม่รู้ว่า ส้มราคากิโลละเท่าไหร่(ตอน2-จบ)

โดย   เสรษฐวิทย์  ชีรวินิจ

การอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีของอียิปต์ยาวนานเกือบ 30 ปี ของฮอร์สนี่ มูบารัค  ต้องถือว่าไม่ธรรมดา

จากข้อมูล   เขาเป็นคนที่เข้ากับคนง่าย  ลูกน้องรัก   และเพื่อนๆก็ไม่มีปัญหา  ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากทหารให้อยู่ในตำแหน่งมาตลอด

ในยุคสมัยของฮอร์สนี่ มูบารัค   เศรษฐกิจอียิปต์ค่อนข้างจะแข็งแกร่ง   นอกเหนือจากรายได้จากการเก็บค่าบริการผ่านคลองสุเอซแล้ว  รายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศก็ยังในระดับสูงติดต่อการนานนับสิบๆปี    ราคาสินค้าในประเทศไม่สูงมากมาก 

ในช่วงนั้น   อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศค่อนข้างจะแข็งแกร่ง  คือ 1 ยูเอส ดอลล่าร์แลกได้ประมาณ 3.33 ปอนด์อียิปต์   หรือ 1 ปอนด์อียิปต์จะเทียบเท่ากับประมาณ 8 บาท   ในขณะที่ปัจจุบันนี้  1 ปอนด์อียิปต์จะเทียบเท่ากับ 1.14 บาทโดยประมาณเท่านั้น

ยามว่าง  มูบารัค ชอบเล่นไพ่กับนายทหารที่เขาสนิทสนม  และ มักจะติดปลายนวมเล็กน้อยเพื่อความตื่นเต้น


(ฮอร์สนี่ มูบารัค เริ่มต้นจาการเป็นทหารอากาศ – ภาพจากวิกิพีเดีย)

ครั้งหนึ่ง   เขาเล่นพนันกับเพื่อนทหารคนหนึ่งด้วยส้มมูลค่า 10 กิโลกรัม

ผลปรากฎว่า   มูบารัค แพ้การเล่นไพ่ครั้งนั้น  เขาจึงบอกผู้ชนะพนันว่า  ให้ไปซื้อส้ม 10 กิโลกรัมมากินกันในหน่วยทหาร  แล้วมาเบิกเงินจากเขา

เวลาผ่านไปหลายวัน   ทหารผู้นั้นก็ซื้อส้มมาแจกกันทานในหน่วยทหาร  เสร็จแล้วก็ไปขอเบิกเงินจากมูบารัค

มูบารัค ตกใจเมื่อนายทหารคนนั้นมาเบิกเงินค่าซื้อส้ม   เขาตะโกนลั่นตามสไตล์ชาวอาหรับว่า 

“ส้มบ้าอะไรวะ   ราคาแพงขนาดนี้”


(ร้านขายผลไม้ริมทางในกรุงไคโร)

เนื่องจากนายทหารคนนั้นเป็นเพื่อนสนิทของมูบารัค   เขาจึงสามารถอธิบายเหตุผลและเรื่องราวต่างๆให้แก่นายของตนเองได้

เขาบอกว่า “ นาย   ราคาส้มในตลาดก็ประมาณนี้แหละ  เพราะราคามันขึ้นมาตลอด”

มูบารัค ได้สติ   เพราะตลอดเวลาของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี   เขาแทบจะไม่เคยไปเดินช้อปปิ้งในตลาดชาวบ้านเลย   ของแทบทุกอย่างล้วนแต่มีคนซื้อมาให้  

นับจากวันนั้น   มูบารัค จึงเข้าใจถึงภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงของชาวบ้าน ที่ไม่มีใครกล้ารายงานให้เขาทราบ   เขาจึงสั่งการให้เข้าไปดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิดสำหรับราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับชาวบ้าน

เป็นธรรมชาติของผู้ปกครองทุกยุคทุกสมัยที่เมื่ออยู่ในตำแหน่งนานวันเข้า  จะให้เขาห่างไกลจากประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ   เพราะทุกรายงานมักจะมีแต่คำพูดที่เจ้านายอยากได้ยิน  ประเภท   ดีครับผม  เพมาะสมแล้วครับนาย


(พระนางมารี อังตัวเนตต์ – ภาพจากวิกิพีเดีย)

เราจึงได้ยินตำนานที่เล่ากันต่อๆมาเช่น  สมัยของพระนางมารี อังตัวเนตต์ ที่บอกกับข้าราชการที่มารายงานว่า  ชาวบ้านไม่มีแม้แต่ขนมปังจะกินแล้ว  แล้วพระนางก็ตอบว่า  ไม่มีขนมปัง  ทำไมไม่กินเนื้อละ

ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล่าที่เกินความจริงไปบ้าง  แต่สะท้อนแนวคิดที่ชาวบ้านรู้สึกต่อผู้ปกครองที่ไม่เคยก้าวเท้าลงมาจากหอคอยงาช้างเพื่อดูชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวบ้าน

ท่านที่สนใจจะร่วมเดินทางเจาะลึกอียิปต์ทริปแรกของซีซั่นนี้กับผม  ระหว่างวันที่ 19-28 ตุลาคม  ติดต่อได้ที่ โทร 088 5786666 หรือ ID LINE – 14092498

โปรแกรมนี้  เน้นการบรรยายชมอย่างจุใจ  ไม่ใช่แค่ปล่อยให้ลงไปถ่ายรูปแล้วเดินทางต่อ

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

Posted in ซอกซอนตะลอนไป โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ and tagged , , , .