ซอกซอนตะลอนไป (7 กรกฎาคม 2562)
เกมส์ อ๊อฟ โทรน ของฟาโรห์(ตอน2)
โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
หลังจากเทพชู กับ เทพีเทฟนุต ได้ให้กำเนิด เทพเก็บ เทพแห่งพื้นปฐพี และ เทพีนุต เทพีแห่งท้องฟ้าแล้ว แรกทีเดียว เทพเก็บ และ เทพีนุต มีร่างกายประกบติดกันโดยที่ เทพเก็บนอนอยู่ข้างล่าง และ เทพีนุต นอนทับอยู่ข้างบน
เทพชู เห็นว่า ทั้งคู่นอนประกบกันนานแล้ว จึงเข้าไปแทรกระหว่างกลาง แล้วดันให้เทพีนุต แยกตัวออกจากเทพเก็บ เท่ากับแยก “แผ่นฟ้า” ออกจาก “แผ่นดิน” โดยที่ระหว่างแผ่นฟ้ากับแผ่นดินก็คือ อากาศที่ว่างเปล่า ที่หมายถึง เทพชู
เห็นความคิดที่แยบยลของชาวอียิปต์โบราณมั้ยครับ
ต่อมา เทพเก็บ และ เทพีนุต ก็แต่งงานกัน และมีลูกด้วยกัน 4 องค์คือ เทพโอไซริส(OSIRIS) , เทพเซธ(SETH) , เทพีไอซิส(ISIS) และ เทพีเนฟธิส(NEPHTHYS) เทพโอไซริส จับคู่แต่งงานกับ เทพีไอซิส และ เทพเซธ ก็แต่งงานกัน เทพีเนฟธิส
เชื่อกันว่า นี่คือที่มาของแนวคิดในกฎมณเฑียรบาลของอียิปต์โบราณ ที่กำหนดว่า ก่อนที่จะฟาโรห์ขึ้นครองราชย์ จะต้องอภิเษกสมรสกับ พี่สาวหรือน้องสาวของตัวเองเสียก่อน
ประเพณีนี้สืบทอดต่อมาจนกระทั่งฟาโรห์องค์สุดท้าย คือ ฟาโรห์ ปโตเลมีที่ 13 ที่ต้องอภิเษกสมรสกับ พระนางคลีโอพัตรา ที่ 7 ซึ่งเป็นพี่สาว และ กลายมาเป็นความขัดแย้งจนอียิปต์ตกไปอยู่ภายใต้การครอบครองของ อาณาจักรโรมันในที่สุด
อาจเป็นเพราะ ฮัทเชปซุท มีอายุมากกว่า ธุทโมเซส ที่ 2 จึงดูเหมือนว่า อำนาจเหนือบัลลังก์อียิปต์ที่แท้จริง อาจจะอยู่ในความครอบครองของฮัทเชปซุท
ธุทโมเซส ที่ 2 มีพระธิดากับ ฮัทเชปซุท 1 พระองค์ มีนามว่า เนเฟอร์รูเร(NEFERURE) ในขณะที่ ธุทโมเซส ที่ 2 มีโอรสกับมเหสีรองคนหนึ่งที่มีนามว่า ไอซิส(ISIS) หรือ ไอเซท(ISET) และโอรสองค์นั้นก็คือ ธุทโมเซส ที่ 3
รายละเอียดเกี่ยวกับรัชสมัยของธุทโมเซส ที่ 2 มีไม่มากนัก เพียงแต่มีข้อมูลระบุว่า ธุทโมเซส ที่ 2 ครองราชย์ไม่นาน บ้างก็ว่าประมาณ 13-14 ปี แต่บางหลักฐานก็บอกว่า น้อยกว่านั้น
แต่ก็นานกว่า ธุทโมเซส ที่ 1 ผู้เป็นบิดา ที่ครองราชย์เพียงแค่ 9 ปีเท่านั้น
เนื่องจากธุทโมเซส ที่ 2 สิ้นพระชนม์เร็ว จึงทำให้โอรสองค์เดียวของพระองค์ คือ ธุทโมเซส ที่ 3 ยังเป็นเด็กน้อย คืออายุประมาณ 3 ขวบเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม ธุทโมเซส ที่ 3 ก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะขึ้นครองบัลลังก์เป็นฟาโรห์องค์ต่อไป
โดยที่จะต้องมีผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน จนกว่าฟาโรห์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพียงพอ
ในที่นี้ ผู้สำเร็จราชการแทนจะเป็นใครอื่นไม่ได้ นอกจาก ฮัทเชปซุท ซึ่งมีฐานะเป็น น้าสาว และ มารดาเลี้ยงของ ธุทโมเซส ที่ 3
ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ ฟาโรห์ ธุทโมเซส ที่ 2 สิ้นพระชนม์ ฮัทเชปซุท ก็ดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทน ธุทโมเซส ที่ 3 ลูกเลี้ยงของตัวเองตั้งแต่นั้นมา
จนเมื่อลูกเลี้ยงเติบโตจนสามารถปกครองแผ่นดินด้วยตัวเองได้แล้ว ฮัทเชปซุท ก็ยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง ซ้ำร้ายยังหนักกว่าเดิม เมื่อพระนางประกาศตัวเป็น ฟาโรห์ เสียเอง ปกครองแผ่นดินอียิปต์ในฐานะฟาโรห์ (ผู้ชาย) อย่างสมบูรณ์แบบ
ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้ผู้คนยอมรับว่า นางคือผู้มีสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นฟาโรห์
จึงมีภาพเรื่องราวชีวิตของฟาโรห์ ฮัทเชปซุท ในวิหาร แดร์ เอล บาฮารี ที่เมืองลักซอร์ เล่าเรื่องชาติกำเนิดที่แท้จริงของฮัทเชปซุท ว่า เธอมิได้เป็นลูกของ ธุทโมเซส ที่ 1 แต่อย่างใด
ภาพนั้นบรรยายว่า คืนหนึ่ง เทพอามุน-รา(AMUN RA) เทพสูงสุดแห่งเมืองธีบส์ได้แอบเข้าหาอาห์โมเซ มารดาของเธอ และ ปฎิสนธิเธอขึ้นมา เธอจึงเป็นลูกของเทพอามุม-รา ไม่ใช่ลูกของธุทโมเซส
แค่นี้ยังไม่พอ ยังมีภาพสลักในวิหารข้างๆบรรยายความว่า ในตอนที่เธอยังเป็นเด็กนั้น เธอได้รับการเลี้ยงดู และ ให้นม จากเทพี ฮาธอร์ เทพีวัว ผู้เป็นเทพีแห่งการเป็นแม่ ความสนุกสนานรื่นเริงด้วย
และเทพีฮาธอร์ นี่เอง ที่ในตำนานระบุว่า เป็นผู้เลี้ยงดู เทพฮอรัส โอรสของ เทพีไอซิส กับ เทพโอไซริส ซึ่งกลายเป็นความเชื่อในเวลาต่อมาว่า ฟาโรห์ คือผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดู และ ดื่มนมจาก เทพีฮาธอร์
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ฮัทเชปซุท จึงยืนยันว่า การขึ้นครองบัลลังก์ เป็นฟาโรห์ของพระนาง เป็นความประสงค์ของเทพเจ้า อามุน-รา และไม่ยอมลงจากอำนาจ แม้ว่า ธุทโมเซส ที่ 3 จะถึงวัยที่จะครองราชย์ได้เองแล้ว
ด้วยสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ธุทโมเซส ที่ 3 ไม่สามารถโต้แย้งอะไรได้เลย
ธุทโมเซส ที่ 3 ทำได้อย่างเก่งที่สุดก็คือ การมีชื่อเป็นผู้ครองราชย์ร่วม และต้องรอจนกว่า ฮัทเชปซุท จะสิ้นพระชนม์ไปเอง หลังจากครองแผ่นดินได้นาน 21 ปี
หลังจากวันนั้น ศึกชำระแค้นจึงได้เริ่มขึ้น รออ่านตอนต่อในสัปดาห์หน้าครับ
สำหรับท่านที่สนใจจะเดินทางท่องเที่ยวแบบเจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน กับ ไวท์ เอเลแฟนท์ ทราเวล เอเยนซี่ กับผม ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดขึ้นอย่างประณีต เพื่อให้เป็นโปรแกรมพักผ่อนสบายๆ และ เน้นการบรรยายชม เชิญติดต่อได้ที่ 02 651 6900 หรือ 088 578 6666 หรือ Line ID 14092498
เรามีทัวร์ออกเดินทางทุกเดือน
ท่านที่ต้องการอ่านบทความ “ซอกซอนตะลอนไป” ย้อนหลัง 5 ปี สามารถอ่านได้ที่ บล็อก “ซอกซอนตะลอยไป” ที่ www.whiteelephanttravel.co.th
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ